วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

Sustainable คืออะไร

         
                Sustainable หรือ Sustainability แปลว่า ยั่งยืน พวกเราคงได้เห็น และ ฟังคำนี้ บ่อยมากในช่วง 2-3 ปีนี้ ตั้งแต่มีวิกฤตเศรษฐกิจ ในอเมริกา และ ยุโรป ทำให้ รัฐบาลต่างๆ บริษัท เอกชน องค์กร ต่างๆ ตระหนัก ถึง การพัฒนา ที่ยั่งยืน ไม่ใช้การพัฒนา แต่วัตถุ ดูแต่ GDP ของประเทศ ว่า สูงเท่าไร หรือ แต่ละคน ดูว่า ใครมีบ้านหลังใหญ่ ใครขับรถแพงกว่ากัน ซึ่งเป็นการสร้างความเจริญทาง วัตถุ มากเกินไป ทำให้ ค่าของความเป็นคน น้อยลง ความสุขก็น้อยลง คนฉลาดมาก ก็เอาเปรียบมาก โกงมาก โดยเฉพาะ การที่คนเก่ง จำนวนมาก ไปทำงานด้าน finance แทนที่จะไปเป็น แพทย์ หรือ วิศวกรในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา ทำให้ เขาสามารถหาวิธีโกง ในการธุรกรรมทางการเงิน ที่ตรวจสอบได้ยาก เป็นเหตุผลที่ทำให้ เศรษฐกิจ ของอเมริกาและยุโรป มีปัญหาใน 2-3 ที่ผ่านมา การพัฒนา ที่ ยั่งยืน (sustainability) จะต้องคำนึงถึงความสุขของ ทุกคนในสังคม และ สภาวะ บรรยากาศของโลก ไม่ก่อมลภาวะที่ทำให้โลกร้อน ปัจจุบัน บริษัทเอกชน รายใหญ่ๆจำนวนมาก อาทิ ปตท ,SCG ฯลฯ จะมีนโยบายในการบริหารแบบ ยั่งยืน คือเน้นความสุขของพนักงานเป็นหลัก, ความมั่งคงของสังคม, ลดภาวะโลกร้อน และ มีการทำ CSR (corporate social responsility) โดยการดำเนินการช่วยเหลือ สังคมและดำเนินกิจกรรมช่วยลดโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง เราทุกคนควรจะคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน อยู่อย่างพอเพียงตามพระราชดำรัสของในหลวง ช่วยกันรักษาโลกใบนี้ ให้ลูกหลานของเราได้อาศัยต่อไปชั่วนิรันทร์
http://www.classifiedthai.com/content.php?article=17215

                   
                          
                     
               
              "Sustainability" หรือ "ความยั่งยืน" ในเชิงสิ่งแวดล้อม คือคำที่ฮิตติดปากอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์และทีวีในต่างประเทศในขณะนี้ และผมเชื่อว่าคำคำนี้แหละจะมีส่วนสำคัญในการกำหนดการดำเนินชีวิต การผลิต ระบบเศรษฐกิจ และธุรกิจในทศวรรษข้างหน้า โดยที่หลายๆ ท่านอาจจะคาดไม่ถึง

ปัญหา Global warming และ Climate change รวมถึงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ได้กลายเป็นหัวข้อทางสังคมที่สำคัญที่สุดในระดับนานาชาติอยู่ในขณะนี้ ว่าไปแล้วหัวข้อดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยล่าสุดจำนวนมาก บ่งชี้ให้เห็นว่า ระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของโลกนั้น ไม่สามารถรองรับการบริโภคและไลฟ์สไตล์ของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ได้

รายงานการวิจัย Living Planet Report ของ WWF ชิ้นล่าสุดระบุว่า จากตัวเลขในปี 2003 มนุษย์เราบริโภคทรัพยากร ธรรมชาติมากถึง 25% เกินกว่าที่ระบบนิเวศ วิทยาจะสามารถทำการผลิตเพื่อทดแทนได้ และถ้าอัตราการบริโภคส่วนเกินนี้ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี 2050 การบริโภคส่วนเกิน จะสูงถึง 100% ของความสามารถในการผลิตเพื่อทดแทนของระบบนิเวศวิทยา หรือพูดง่ายๆ ว่า เราจำเป็นต้องมีโลกถึง 2 ใบ เพื่อเป็นฐานการผลิตทรัพยากรธรรมชาติให้กับประชากรโลก แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าโลกเรานั้นมีจำนวนจำกัดแค่ 1 ใบ

และจากรายงานการศึกษาล่าสุดของเซอร์นิโคลัส สเติร์น อดีตหัวหน้านักเศรษฐ-ศาสตร์ของธนาคารโลกชาวอังกฤษ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ไปทั่วโลก ระบุว่าการละเลยการแก้ปัญหา Global warming และ Climate change ในวันนี้ จะนำไปสู่มหันตภัยทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในอนาคต นอกจากนั้นต้นทุนในการแก้ปัญหาดังกล่าวยังต่ำมากเมื่อเทียบกับผลเสียที่จะได้รับถ้าเรายังหลีกเลี่ยงการแก้ปัญหาอันนี้อยู่

และด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้เองที่ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เป็นปัญหาบนหน้ากระดาษเพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับผู้คนทั่วไปอีกต่อไป แต่เป็นปัญหาที่แท้จริงที่มนุษยชาติจำต้องเผชิญในทศวรรษข้างหน้า และเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการเยียวยาอย่างเร่งด่วนอย่างไม่มีทางเลือก

รัฐบาลในประเทศตะวันตกหลายประเทศ ก็ได้ประกาศการต่อสู้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง รัฐบาลอังกฤษก็เพิ่งประกาศว่า เขาพร้อมแล้วที่จะเป็นผู้นำในการต่อสู้กับปัญหานี้ โดยรัฐบาลอังกฤษกำลังอยู่ในช่วงร่างกฎหมายภาษีสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า "Green tax" ขึ้นมา โดยคาดว่าจะทำการจัดเก็บกับกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ที่ปล่อย Greenhouse gas ออกมา ไม่ว่าจะเป็นจากรถยนต์ เครื่องบิน และอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนในฝรั่งเศสเองก็จะทำการเก็บภาษีชนิดคล้ายๆ กันกับรถยนต์ขนาดใหญ่ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป

ส่วนในนิวซีแลนด์เอง นายกรัฐมนตรีเฮเลน คลาร์ก ก็เพิ่งประกาศว่า จะนำพานิวซีแลนด์ให้เป็นประเทศแรกในโลก ที่เป็น "Truly sustainable" โดยจะส่งเสริมการพัฒนาและการผลิตพลังงานชีวภาพ และ Renewable Energies ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น พลังงานลม และน้ำ) รวมถึงการลดปริมาณขยะและการปล่อยของเสียในรูปแบบอื่นๆ

ในทศวรรษข้างหน้านี้นโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมน่าจะเป็นนโยบายที่ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในระดับรัฐบาลและระหว่างประเทศ โดยผมคงไม่แปลกใจมากนัก ถ้าในอนาคตเป้าหมายทางสิ่งแวดล้อมจะเป็นเป้าหมายหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศเหมือนเป้าหมาย ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ซึ่งเป็นตัวกำหนดแนวทางการดำเนินชีวิต ระบบเศรษฐกิจ ระบบการผลิต และการดำเนินของ ธุรกิจโดยทั่วไปในปัจจุบัน

นอกเหนือจากความพยายามของภาครัฐ ภาคธุรกิจและเอกชนในต่างประเทศก็เริ่มทำการปรับตัวกับปัญหานี้ด้วยเช่นกัน โดยเริ่มลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาใช้ในธุรกิจของตน อย่างเช่น เซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน มหาเศรษฐีชาวอังกฤษ เจ้าของกลุ่มบริษัท Virgin Group ก็ตัดสินใจทุ่มเงินลงทุนมหาศาลถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพลังงานชนิดใหม่เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันและถ่านหิน

โดยอันที่จริงแล้ว Virgin Group ก็เพิ่งลงทุนถึง 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการจัดตั้งบริษัท Virgin Fuels ขึ้นมา ซึ่งบริษัท Virgin Fuels จะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา Biofuels ที่จะนำมาใช้ในธุรกิจสายการบินและรถไฟของ Virgin Group นั่นเอง และคงไม่น่าแปลกใจว่าถ้าวันหนึ่ง Virgin ประสบ ความสำเร็จในการพัฒนา Biofuels ที่ใช้กับธุรกิจของเขาขึ้นมาจริงๆ สายการบินและรถไฟในเครือ Virgin ก็คงเป็นสายการบินและบริษัทรถไฟยอดฮิตที่ใครๆ ก็นิยมใช้

ดูเหมือนว่าเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม เหล่านี้มักต้องอาศัยการลงทุนขนาดใหญ่และไม่ได้เกิดขึ้นได้ในภายระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นถ้ามองในเชิงกลยุทธ์การลงทุนในเทคโนโลยีด้านนี้คงไม่ได้เป็นเพียงแค่ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจเท่านั้น แต่ในทางตรงกันข้าม กลับจะเป็นการสร้างความได้เปรียบทาง เทคโนโลยีให้ธุรกิจเหล่านั้นไปในตัว ซึ่งความได้เปรียบอันนี้อาจมีมูลค่ามหาศาลในยุคโลกร้อนก็เป็นได้

นอกจากนั้นใคร จะรู้ได้ว่าความได้เปรียบ ในเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เหล่านี้ ก็อาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดระบบการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศด้วยเช่นกันยกตัวอย่าง เช่น ในยุคโลกร้อน หลายประเทศก็อาจจะตัดสินใจไม่นำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ Energy Efficient หรือทำการจัดเก็บภาษีนำเข้าระดับสูงกับยานพาหนะที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งจัดเก็บภาษี นำเข้ากับสินค้าที่ผลิตโดยประเทศที่ปล่อย Greenhouse gas เกินขนาด คงไม่มีใครกล้ารับประกันได้ว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

ตัวอย่างการลงทุนที่น่าสนใจอันหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันก็คือ การจัดตั้งกองทุนรวม Living Planet Fund ในประเทศ ลักเซมเบิร์ก ซึ่งจัดตั้งโดยบริษัท Living Planet Fund Management และบริหารโดย UBS Global Asset Management ซึ่งกองทุนรวมนี้เลือกลงทุนเฉพาะในบริษัทชั้นนำในประเทศต่างๆ ที่มีนโยบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือกับปัญหาสังคมด้านอื่นๆ ซึ่งถ้า trend ในการลงทุนรูปแบบนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็คงจะสร้างผลกระทบให้กับบริษัทที่ไม่ได้ทำการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมมาแต่เนิ่นๆ

ดังนั้นความล้าหลังในเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมนั้น นอกจากจะไม่ช่วยโลกของเราในวันนี้แล้ว ยังอาจหมายถึงผลเสียกับธุรกิจ การค้า การลงทุน และระบบเศรษฐกิจโดยรวม ในอนาคตอีกด้วย ในทางตรงข้าม ความได้เปรียบในเทคโนโลยีด้านนี้ก็อาจเป็นคำตอบ ของประเทศผู้ส่งออกอย่างบ้านเราในการแข่งขันกับประเทศที่มีค่าแรงต่ำก็เป็นได้ เพราะใครจะรู้ได้ว่า คลื่นลูกที่สี่ที่อาจเกิดขึ้นในทศวรรษข้างหน้า อาจเป็นคลื่นของความ "ยั่งยืน" ในเชิงสิ่งแวดล้อมนั่นเอง

ขอขอบคุณภาพประกอบบทความจาก NASA และ NSSDC และจากไร่องุ่น Pegasus Bay, New Zealand
ที่มา http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=54250 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น