วันนี้จึงนำแนวคิดนี้มาฝากค่ะ
แนวคิดเมืองยั่งยืน (Sustainable City)
เมืองไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาล้วนมีปัญหา
เมือง เป็นตัวอย่างการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนและต้นตอของความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน ได้แก่ การทำให้โลกร้อน การทำลายป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ การทำให้แหล่งน้ำร่อยหรอและปนเปื้อน ดินเสื่อมคุณภาพ สัตว์น้ำถูกจับมากเกินไป การสร้างเมืองที่ยั่งยืนกลายเป็นความจำเป็นที่เร่งด่วน!
ความเชื่อมโยงของเหตุปัจจัยของการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ความต้องการบริโภคสินค้าและบริการที่ไม่สมเหตุสมผล ฟุ่มเฟือย
ทำให้คุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ขาดสมดุล แม้จะส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ตาม
- การที่ชุมชนไม่เข้มแข็งทำให้เกิดผลเสียทางเศรษฐกิจ เกิดความขัดแย้งทางสังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายอย่างรุนแรง
- การเคลื่อนย้ายทุนจากต่างประเทศ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว
กรอบแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
นโยบายการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐในอดีต
-การที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วและรุนแรงนี้เอง การแก้ไขกฎหมายและทบทวนนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย
- เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐานสากล
- ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับสู่สมดุลเดิม
อย่างยั่งยืนสำหรับคนรุ่นต่อไป
สำหรับในประเทศไทย สืบเนื่องจาก
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโดยยึดหลักสำคัญที่ “คนเป็นศูนย์กลาง” อันหมายถึงการพัฒนาคนและสิ่งแวดล้อมรอบตัวคนเป็นสำคัญ
แผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 ซึ่งสานต่อภารกิจโดยเชื่อมโยงการพัฒนาในลักษณะขององค์รวม Holistic scale โดยเน้นการสร้างแนวคิดในลักษณะบูรณาการให้ครบทุกมิติ เพื่อให้เกิดผลอย่างแท้จริงตามแนวคิดของสมัชชาโลก World summit for the World Environment “Agenda 21” ซึ่งปัจจุบันได้มีกระแสต่างๆ เกี่ยวกับแนวคิดของ Sustainable Development & Sustainability ในเรื่องต่างๆหลายเรื่อง
และทฤษฎีพระมหาชนก ที่มุ่งสู่การพึ่งตนเอง ความเพียรอันบริสุทธิ์ การอนุรักษ์และเพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติ
เศรษฐกิจที่พอเพียง
- การสร้างศักยภาพในการแข่งขัน
- การสร้างเศรษฐกิจฐานราก
- การอนุรักษ์และเพิ่มทรัพยากร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้เล็งเห็นถึงสิ่งเหล่านี้ จึงได้สร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมา คือ
“เศรษฐกิจพอเพียง”
โดยทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้ประเทศรอดพ้นและยื่นหยัดภายใต้กระแสโลกา วิวัฒน์ และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างมั่นคง เพื่อเป็นหนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
เศรษฐกิจพอเพียง
ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ
- ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคอยู่ในระดับพอประมาณ
- ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึง ถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
- การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
การดำเนินกิจการต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องมีความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน
- ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
- คุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียง ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
คืนชิวิตสู่ธรรมชาติ
การนำปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงพอมาปฏิบัติ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน- การพัฒนาให้สามารถพึ่งตนเองในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน
- ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับธรรมชาติ
- สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือเกื้อกูล และความสามัคคี
- การพิจารณาวางแผนและขั้นตอนการปฏิบัติอย่างรอบคอบ
หลักสำคัญของความพอดีมี 5 ประการ คือ
ความพอดีด้านจิตใจ : ต้องเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประณีประนอม นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
ความพอดีด้านสังคม : ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข็มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคง และแข็งแรง
ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป
ความพอดีด้านเทคโนโลยี : รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองและสอดคล้องเป็นประโยชน์ ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง
ความพอดีด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตตภาพ และฐานะของตน
ที่มา เอกสารประกอบการสอน วิชา อนุรักษ์พัฒนา
อ.สันทนา ภิรมย์เกียรติ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
รศ.ดร.เอกรินทร์ อนุกูลยุทธธน ,เอกสารการสอน การพัฒนาอย่างยั่งย
อนุช อาภาภิรม ,การพัฒนาอย่างยั่งยืน คำตอบอยู่ในความหลากหลาย.2545
สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ. แนวทางการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม. 2542
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ .ทำเมืองให้น่าอยู่ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์และความหวังสำหรับ
เมืองที่ยั่งยืน. แปลจาก The gaia atlas of Cities : new direction for sustainable urban living ของเฮอรเบิต จิราเดย์ มูลนิธิโกมลคีมทอง,2539
บุญนาค ตีวกุล.เมืองและสิ่งแวดล้อม. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,2545
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น