วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

เทรนด์แรงแห่งยุคสมัยกับสุดยอด “บูติก โฮเต็ล”แห่งปี 54

                         
                        
                           โรงแรม ภารีสา (ภูเก็ต)

     
        ที่พักประเภทนี้ได้ก่อกระแสและส่งอิทธิพลต่อวงการท่องเที่ยวในบ้านเรามาหลายปีแล้ว แต่กระนั้นกระแสความนิยมของที่พักประเภทนี้ก็ยังคงแรงดีไม่มีตก แถมยังมีแนวโน้มที่จะแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวยุคใหม่
     
       บูติก โฮเต็ล เป็นที่พักขนาดกลางและเล็ก มีการตกแต่งอันเป็นเอกลักษณ์ มีจุดเด่นเป็นของตัวเอง ไม่จำเจเหมือนโรงแรมธรรมดา ดึงดูดลูกค้าที่ต้องการความแปลกใหม่หรือลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่มีรสนิยมเดียวกันให้เดินทางมาพักในบูติก โฮเต็ลนั้นๆ
     
       อย่างไรก็ตามเทรนด์ของบูติก โฮเต็ลก็ได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยเทรนด์ของบูติก โฮเต็ลในยุคนี้ จะมุ่งเน้นไปที่การมี่บริการพิเศษ เน้นความเป็นส่วนตัวมีทั้งที่เรียบง่าย พิถีพิถัน หรูหรา หวือหวา แปลกใหม่ และมีจุดขายที่ชัดเจน นอกจากนี้บูติก โฮเต็ล หลายแห่งยังเน้นการเชื่อมโยงกับวิถีวัฒนธรรมชุมชนในท้องถิ่น และการใส่ใจในสิ่งแวดล้อม
     
       และด้วยกระแสความแรงอย่างต่อเนื่องของบูติก โฮเต็ล ทำให้ทาง เคทีซีได้จับมือกับพันธมิตร จัดทำโครงการ "Thailand Boutique Awards 2011" ขึ้น เป็นโครงการประกวดโรงแรมบูติกขนาดกลางและเล็กครั้งที่ 2 ที่มีจำนวนตั้งแต่ 3-79 ห้อง จากบูติก โฮเต็ล ทั่วประเทศ ที่เข้าประกวด 355 รายการ แบ่งออกเป็นรางวัลประเภทต่างๆ ตามลักษณะภูมิภาคเป็นเขตเมือง คือ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล และแบ่งโรงแรมออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เบสิก(Basic) ดีลักซ์(Deluxe) และ ลักซ์ชัวรี่(Luxury) โดยพิจารณาจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแนวความคิดและวัฒนธรรม



                  
                 ไอ ยู เดีย (อยุธยา)
          

                 สำหรับรายชื่อบูติก โฮเต็ลที่ได้รับรางวัลในปี พ.ศ. 2554 จากโครงการ "Thailand Boutique Awards 2011" มีดังนี้
       
       รางวัลกลุ่มโรงแรมเบสิก(Basic Accommodation)
       
       1) ประเภทสถาปัตยกรรมและการออกแบบ 
       
       เขตเมือง 
       -Silver Award ได้แก่ หลับดี บางกอก-สีลม (กรุงเทพฯ) โฟคอล โลคอล เบด แอนด์ เบรกฟาสต์ (กรุงเทพฯ) และ เลอ บลอค (สระแก้ว)
       - Gold Award ได้แก่ บ้านพระนนท์ (กรุงเทพ) และ เดอะภูธร (กรุงเทพ)
       
       เขตแม่น้ำ 
       - Gold Award ได้แก่ ไอ ยู เดีย (อยุธยา)
       
       2) ประเภทอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
       
       เขตภูเขา 
       -Silver Award ได้แก่ ลีซู ลอดจ์ (เชียงใหม่) และ ลานเจีย ลอดจ์(เชียงราย)
       
       3) ประเภทแนวความคิดและวัฒนธรรม 
       
       เขตเมือง
       - Silver Award ได้แก่ พิมาน เพลินวาน (ประจวบคีรีขันธ์)
       -Gold Award ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ แมนชั่น (กรุงเทพฯ) และเดอะภูธร (กรุงเทพฯ)
       
       เขตภูเขา
       - Gold Award ได้แก่ ลีซู ลอดจ์ (เชียงใหม่) และ ลานเจีย ลอดจ์ (เชียงราย)
       
       เขตแม่น้ำ
       -Silver Award ได้แก่ อาลัมภางค์ (ลำปาง)
       -Gold Award ได้แก่ ไอ ยู เดีย (อยุธยา)
                    
                    * ไร่แสงอรุณ (เชียงราย)
      รางวัลกลุ่มโรงแรมดีลักซ์ (Deluxe Accommodation)
       
       1)ประเภทสถาปัตยกรรมและการออกแบบ 
       
       เขตเมือง 
       -Silver Award ได้แก่ อินภาวา (ขอนแก่น) บ้านธาราบุรี(สุโขทัย) และ ลรรค เอ็กซ์ แอล (กรุงเทพฯ)
       
       เขตทะเล 
       -Silver Award ได้แก่ เดอะทับแขก กระบี่ บูติก รัสอร์ท (กระบี่) และ เดอะเดวา เกาะช้าง(ตราด)
       
       2) ประเภทอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
       
       เขตเมือง 
       -Silver Award ได้แก่ ยางคำ วิลเลจ (เชียงใหม่)
       
       เขตภูเขา
       -Silver Award ได้แก่ หินตก ริเวอร์ แคมป์ ช่องเขาขาด (กาญจนบุรี) และเดอะสปา เกาะช้าง รีสอร์ท (ตราด)
       -Gold Award ได้แก่ ไร่แสงอรุณ (เชียงราย)
       
       เขตแม่น้ำ 
       -Gold Award ได้แก่ อาน่า รีสอร์ท แอนด์ สปา (ตราด)
       
       เขตทะเล 
       -Silver Award ได้แก่ อ่าวพร้าว รีสอร์ท (เสม็ด ระยอง)
       -Gold Award ได้แก่ เดอะทับแขก กระบี่ บูติก รีสอร์ท (กระบี่)

                       
                       วิลล่า มาร็อก รีสอร์ท (ประจวบคีรีขันธ์)




  3) ประเภทแนวความคิดและวัฒนธรรม 
     
       เขตเมือง
       -Silver Award ได้แก่ แทมมาริน วิลเลจ (เชียงใหม่) และ บ้านธาราบุรี (สุโขทัย)
     
       เขตภูเขา
       -Gold Award ได้แก่ ไร่แสงอรุณ (เชียงราย) และหินตก ริเวอร์ แคมป์ ณ ช่องเขาขาด (กาญจนบุรี)
     
       เขตแม่น้ำ
       -Silver Award ได้แก่ ริเวอร์แคว จังเกิ้ล ราฟท์ (กาญจนบุรี)
     
       รางวัลกลุ่มโรงแรมลักซ์ชัวรี่ (Luxury Accommodation)
     
       1)สถาปัตยกรรมและการออกแบบ
     
       เขตเมือง
       -Silver Award ได้แก่ ปิงนครา บูติก โฮเต้ล แอนด์ สปา(เชียงใหม่)
     
       เขตภูเขา
       -Silver Award ได้แก่ วิลล่า โซลิธูด รีสอร์ท แอนด์ สปา(ภูเก็ต) และมุตติมายา ฟอเรสท์ พูลวิลล่า(นครราชสีมา)
       -Gold Award ได้แก่ วีรันดา เชียงใหม่ เดอะไฮ รีสอร์ท และศาลาเขาใหญ่ (นครราชสีมา)
     
       เขตแม่น้ำ
       -Gold Award ได้แก่ พระยา พาลาซโซ(กรุงเทพฯ)
     
       เขตทะเล
       -Silver Award ได้แก่ วี วิลล่า หัวหิน(ประจวบคีรีขันธ์) และเดอะไลบราลี่ (สมุย)
       -Gold Award ได้แก่ ภารีสา รีสอร์ท(ภูเก็ต) ศรีพันวา(ภูเก็ต) และ เดอะ เซ้นท์(สมุย สุราษฎร์ธานี)
     
       2)ประเภทอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
     
       เขตเมือง
       -Silver Award ได้แก่ ศิริปันนา วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา(เชียงใหม่)
       -Gold Award ได้แก่ สุพรรณิการ์ โฮม(ขอนแก่น) และ ภัทธารา รีสอร์ท แอนด์ สปา(สุโขทัย)
     
       เขตภูเขา
       -Silver Award ได้แก่ วีรันดา เชียงใหม่ เดอะไฮ รีสอร์ท
     
       เขตแม่น้ำ
       -Silver Award ได้แก่ ณดล วิลล่า (สระบุรี)
     
       เขตทะเล
       -Silver Award ได้แก่ คามาลายา(สมุย) และเลอ วิมาน ค็อตเทจ แอนด์ ปสา (เสม็ด ระยอง)
       -Gold Award ได้แก่ ปารดี(เสม็ด ระยอง) และซีโวล่า รีสอร์ท(กระบี่)
     
       3)ประเภทแนวความคิดและวัฒนธรรม
     
       เขตเมือง
       -Gold Award ได้แก่ ปิงนครา บูติกโฮเต็ล แอนด์ สปา(เชียงใหม่)
     
       เขตแม่น้ำ
       -Gold Award ได้แก่ จักรพงษ์ วิลล่า(กรุงเทพฯ) และพระยา พาลาซโซ(กรุงเทพฯ)
     
       เขตทะเล
       -Silver Award ได้แก่ เดอะบาราย วิลล่า(ภูเก็ต) และเดอะกะลา(สมุย สุราษฎร์ธานี)
       -Gold Award ได้แก่ วิลล่า มาร็อก รีสอร์ท(ประจวบคีรีขันธ์) และคามารายา(สมุย สุราษฎร์ธานี)
     
       นอกจากนี้ในปีนี้ได้มีรางวัลพิเศษ “Outstanding Award” สำหรับโรมแรมที่มีความโดดเด่นทั้ง 3 ประเภท คือ 1.ประเภทสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ได้แก่ โรงแรมภารีสา(ภูเก็ต) 2.ประเภทอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ไร่แสงอรุณ (เชียงราย) 3.ประเภทแนวคิดและวัฒนธรรม ได้แก่ ลานเจีย ลอดจ์(เชียงราย)
     
       อีกทั้งยังมีรางวัลพิเศษ “โรงแรมบูติกขวัญใจชาวออนไลน์” ที่ที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุดจากคลิปวีดิโอโดนใจ คือ โรงแรมวิลล่า มาร็อก รีสอร์ท (ประจวบคีรีขันธ์)


วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

แฟชั่นการแต่งหน้าของผู้หญิงผิวคล้ำ

   
     การแต่งหน้าเป็นการเสริมให้เราสวยหล่อขึ้น แต่ก็ต้องรู้จักแต่งรู้จักวิธีเลือกให้เข้ากับตัวเราเองนะค่ะ  และแหล่งข้อมูลที่เราจะหาได้ง่ายๆ ไม่ยาก ก็คือพี่กู ตอบได้ทุกเรื่อง 55 
        วันนี้ก็เลยเสนอเรื่องการแต่งหน้าของสาวผิวคล้ำ มาฝาก เพราะคนผิดคล้ำจะแต่งยากกว่าคนผิวขาว 
เมื่อหาเจอแล้วก็เลยเอามาลงซะเลยค่ะ           
                             

    แฟชั่นการแต่งหน้าของผู้หญิงผิวคล้ำ

เรื่องของแฟชั่นวันนี้จะขอเสนอเรื่องแฟชั่นการแต่งหน้าของผู้หญิงผิวคล้ำสำหรับผู้หญิงคนไหนที่มีผิวคล้ำ ก็ไม่ต้องน้อยเนื้อต่ำใจไปหรอกนะคะที่คุณเกิดมาไม่ขาวสวยเหมือนกับคนอื่นๆ เขา แล้วสำหรับวันนี้ผู้เขียนก็ขอเอาใจคุณผู้หญิงที่มีผิวสีน้ำผึ้ง หรือผิวสองสี ไปจนถึงสาวผิวคล้ำ ด้วยการที่ได้นำเคล็ดลับเกี่ยวกับการแต่งหน้าสำหรับผู้หญิงผิวคล้ำให้ดูสวยเด่นได้เหมือนกันโดยไม่ต้องน้อยใจในสีผิวอีกต่อไป ดังต่อไปนี้เลยค่ะ
ประการที่ 1.สไตล์การแต่งหน้าของผู้หญิงที่มีผิวคล้ำ
โดยจะต้องเน้นไปทางเฉดสีที่ชวนให้คุณเป็นสาวเจ้าเสน่ห์ อย่างเช่นสีนู้ด ก็ควรจะเลือกสีรองพื้น และเลือกแป้งให้ใกล้เคียงกับสีผิวหน้ามากที่สุด หรือถ้าหากว่าอยากให้หน้าดูสว่างขึ้น ก็ให้เลือกเฉดสีที่สว่างกว่าผิวหน้าแค่ 1 เฉดเพียงเท่านั้นจะทำให้สวยกำลังดี เพราะถ้าหากว่าขาวเกินไป ก็จะทำให้หน้าจะดูขาววอก ๆ ขาวหลอก ๆ ขาวลอย ๆ ดังนั้นก็ควรทำตามคำแนะนำจะดีกว่านะคะ
ประการที่ 2. สีของเปลือกตา 
ควรจะเลือกสีเบจประกายทองหรือสีทองอ่อน ๆ แล้วก็ให้ตามมาด้วยสีพีชหรือสีส้มแบบกลาง ๆ จากนั้นให้ใช้สีน้ำตาลเข้มหรือเทาเข้มเป็นเฉดดิ้งก็สวยดีไปอีกแบบ แล้วในส่วนของสีต้องห้ามที่ไม่ควรใช้อย่างเด็ดขาดเลย นั่นก็คือ สีเขียว เพราะจะเป็นการทำให้คุณดูเป็นคนตาช้ำ แล้วก็ยังดูไม่สดใส ที่สำคัญก็คืออย่าลืมเขียนอายไลน์เนอร์ จากนั้นก็ให้ดัดขนตา และปัดมาสคาร่าตามมาจะดูสวยมาก
ประการที่ 3.การเลือกใช้บลัชออน 
ก็ควรจะเลือกใช้สีโทนน้ำตาล หรือโทนส้มที่มีชิมเมอร์ทอง ๆ เพื่อที่จะช่วยให้หน้าดูสว่างและเซ็กซี่ขึ้น หรืออาจจะเป็นน้ำตาลอมแดง หรือสีแดงระเรื่อ ๆ ก็ดูดีและสวยเหมือนกันค่ะ
ประการที่ 4.สีปาก 
สิ่งที่ไม่ควรเลือกก็คือการใช้ลิปสติกที่สีเข้มจัด หรือสีที่แรงมากเพราะจะทำให้ปากดูลอย แล้วก็ควรจะหลีกเลี่ยงสีที่ผสมแป้งขาว ๆ เพราะจะทำให้ปากดูบวม ก็เพียงแค่เลือกใช้ลิปกลอสที่มีสี เท่านี้ก็ทำให้คุณสวยได้อย่างง่ายๆแล้วค่ะ
ขอขอบคุณบทความดีดีจาก  webboard.yenta4.com

   ที่มา http://www.sexycoca.com/2012/05/

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)

  การพัฒนาอย่างยังยื่น เป็นหลักการหนึ่งที่นักออกแบบจำเป็นจะต้องศึกษา เพราะเป็นหลักการที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบ ที่จะไม่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม  เมื่อมีการออกแบบพัฒนาผลงานออกมา
วันนี้จึงนำแนวคิดนี้มาฝากค่ะ
 
     แนวคิดเมืองยั่งยืน (Sustainable City)
            เมืองไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาล้วนมีปัญหา
เมือง เป็นตัวอย่างการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนและต้นตอของความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน ได้แก่ การทำให้โลกร้อน การทำลายป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ การทำให้แหล่งน้ำร่อยหรอและปนเปื้อน  ดินเสื่อมคุณภาพ สัตว์น้ำถูกจับมากเกินไป  การสร้างเมืองที่ยั่งยืนกลายเป็นความจำเป็นที่เร่งด่วน!
      
     ความเชื่อมโยงของเหตุปัจจัยของการพัฒนาที่ยั่งยืน 
         -  ความต้องการบริโภคสินค้าและบริการที่ไม่สมเหตุสมผล ฟุ่มเฟือย 
ทำให้คุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ขาดสมดุล แม้จะส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ตาม

          - การที่ชุมชนไม่เข้มแข็งทำให้เกิดผลเสียทางเศรษฐกิจ เกิดความขัดแย้งทางสังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายอย่างรุนแรง

           - การเคลื่อนย้ายทุนจากต่างประเทศ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว
    

 กรอบแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

         นโยบายการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐในอดีต 

             -การที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วและรุนแรงนี้เอง การแก้ไขกฎหมายและทบทวนนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย

            - เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐานสากล

            - ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับสู่สมดุลเดิม 
อย่างยั่งยืนสำหรับคนรุ่นต่อไป

สำหรับในประเทศไทย   สืบเนื่องจาก
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโดยยึดหลักสำคัญที่ “คนเป็นศูนย์กลาง”  อันหมายถึงการพัฒนาคนและสิ่งแวดล้อมรอบตัวคนเป็นสำคัญ  
แผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 ซึ่งสานต่อภารกิจโดยเชื่อมโยงการพัฒนาในลักษณะขององค์รวม Holistic scale โดยเน้นการสร้างแนวคิดในลักษณะบูรณาการให้ครบทุกมิติ  เพื่อให้เกิดผลอย่างแท้จริงตามแนวคิดของสมัชชาโลก World summit for the World Environment “Agenda 21”  ซึ่งปัจจุบันได้มีกระแสต่างๆ เกี่ยวกับแนวคิดของ Sustainable Development & Sustainability  ในเรื่องต่างๆหลายเรื่อง 




      ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งสู่ความพอเพียงทางเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ ปัญญา และระบบการศึกษาที่สร้างปัญญาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสังคมที่พออยู่พอกินและมีไมตรีจิตต่อกัน

และทฤษฎีพระมหาชนก ที่มุ่งสู่การพึ่งตนเอง ความเพียรอันบริสุทธิ์ การอนุรักษ์และเพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติ


เศรษฐกิจที่พอเพียง
-  การสร้างศักยภาพในการแข่งขัน
-  การสร้างเศรษฐกิจฐานราก
-  การอนุรักษ์และเพิ่มทรัพยากร


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้เล็งเห็นถึงสิ่งเหล่านี้  จึงได้สร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมา  คือ

                                                   “เศรษฐกิจพอเพียง”  


โดยทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้ประเทศรอดพ้นและยื่นหยัดภายใต้กระแสโลกา วิวัฒน์  และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  ได้อย่างมั่นคง เพื่อเป็นหนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน


เศรษฐกิจพอเพียง

            ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย  3  คุณลักษณะ

                  -   ความพอประมาณ   หมายถึง   ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป     โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น  การผลิตและการบริโภคอยู่ในระดับพอประมาณ
                  -   ความมีเหตุผล   หมายถึง   การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึง ถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
                  -   การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว   หมายถึง   การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ  และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

การดำเนินกิจการต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น  ต้องมีความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 
                  -  ความรู้  ประกอบด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน  เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
                 -  คุณธรรม  ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียง ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 





                                                     คืนชิวิตสู่ธรรมชาติ

     การนำปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงพอมาปฏิบัติ คือ  การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน  พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน
        - การพัฒนาให้สามารถพึ่งตนเองในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน
        - ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับธรรมชาติ
        - สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้  ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือเกื้อกูล และความสามัคคี
        - การพิจารณาวางแผนและขั้นตอนการปฏิบัติอย่างรอบคอบ




    หลักสำคัญของความพอดีมี  5  ประการ   คือ
    ความพอดีด้านจิตใจ   :   ต้องเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร  ประณีประนอม  นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

     ความพอดีด้านสังคม   :   ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  สร้างความเข็มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคง และแข็งแรง

     ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   :   รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด  และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ  เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป







ความพอดีด้านเทคโนโลยี   :   รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองและสอดคล้องเป็นประโยชน์ ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง

ความพอดีด้านเศรษฐกิจ   :    เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตตภาพ และฐานะของตน









ที่มา เอกสารประกอบการสอน วิชา อนุรักษ์พัฒนา
 อ.สันทนา ภิรมย์เกียรติ  อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
รศ.ดร.เอกรินทร์ อนุกูลยุทธธน ,เอกสารการสอน   การพัฒนาอย่างยั่งย
อนุช  อาภาภิรม ,การพัฒนาอย่างยั่งยืน คำตอบอยู่ในความหลากหลาย.2545
สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ. แนวทางการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม. 2542
พิภพ  อุดมอิทธิพงศ์ .ทำเมืองให้น่าอยู่  วิสัยทัศน์  ยุทธศาสตร์และความหวังสำหรับ
เมืองที่ยั่งยืน. แปลจาก The gaia atlas of Cities : new direction  for sustainable urban living ของเฮอรเบิต  จิราเดย์ มูลนิธิโกมลคีมทอง,2539
บุญนาค  ตีวกุล.เมืองและสิ่งแวดล้อม. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,2545  

ความรู้สึกเกี่ยวกับสีในเชิงจิตวิทยา

สีแดง        ให้ความรู้สึกร้อน  รุนแรง กระตุ้น ท้าทาย  เคลื่อนไหว  ตื่นเต้น เร้าใจ  มีพลัง ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง  ความรัก ความสำคัญ  อันตราย

สีส้ม          ให้ความรู้สึก ร้อน  ความอบอุ่น ความสดใส  มีชีวิตชีวา  วัยรุ่น  ความคึกคะนอง การปลดปล่อย  ความเปรี้ยว  การระวัง

สีเหลือง    ให้ความรู้สึกแจ่มใส  ความสดใส  ความร่าเริง  ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่  ความสด  ใหม่  ความสุกสว่าง  การแผ่กระจาย  อำนาจบารมี

สีเขียว        ให้ความรู้สึก สงบ  เงียบ  ร่มรื่น  ร่มเย็น  การพักผ่อน  การผ่อนคลาย ธรรมชาติ  ความปลอดภัย  ปกติ  ความสุข  ความสุขุม  เยือกเย็น

สีน้ำเงิน    ให้ความรู้สึกสงบ  สุขุม  สุภาพ  หนักแน่น  เคร่งขรึม  เอาการเอางาน ละเอียด  รอบคอบ  สง่างาม  มีศักดิ์ศรี  สูงศักดิ์  เป็นระเบียบถ่อมตน

สีม่วง         ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์  น่าติดตาม  เร้นลับ  ซ่อนเร้น  มีอำนาจ  มีพลังแฝงอยู่ ความรัก  ความเศร้า  ความผิดหวัง  ความสงบ  ความสูงศักดิ์

สีฟ้า          ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง  กว้าง  เบา  โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย  ความสว่าง ลมหายใจ ความเป็นอิสระเสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปัน

สีขาว         ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์  สะอาด สดใส เบาบาง อ่อนโยน  เปิดเผย การเกิด  ความรัก ความหวัง  ความจริง  ความเมตตา ความศรัทธา  ความดีงาม

สีดำ           ให้ความรู้สึก มืด สกปรก ลึกลับ  ความสิ้นหวัง  จุดจบ ความตาย ความชั่ว ความลับ ทารุณ โหดร้าย ความเศร้า หนักแน่น เข้มเข็ง อดทน มีพลัง

สีชมพู      ให้ความรู้สึก อบอุ่น  อ่อนโยน  นุ่มนวล  อ่อนหวาน  ความรัก  เอาใจใส่  วัยรุ่น หนุ่มสาว  ความน่ารัก ความสดใส

สีเทา        ให้ความรู้สึก เศร้า  อาลัย  ท้อแท้   ความลึกลับ  ความหดหู่  ความชรา  ความสงบ ความเงียบ  สุภาพ  สุขุม  ถ่อมตน

สีทอง       ให้ความรู้สึก ความหรูหรา  โอ่อ่า  มีราคา  สูงค่า  สิ่งสำคัญ  ความเจริญรุ่งเรือง ความสุข  ความมั่งคั่ง  ความร่ำรวย  การแผ่กระจาย 



 การใช้สีในเชิงสัญลักษณ์ 

สีแดง  
มีความอบอุ่น ร้อนแรง เปรียบดังดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังแสดงถึง 
ความมีชีวิตชีวา ความรัก  ความปรารถนา เช่นดอกกุหลาบแดงวัน 
วาเลนไทน์  ในทางจราจรสีแดงเป็นเครื่องหมายประเภทห้าม แสดง 
ถึงสิ่งที่อันตราย  เป็นสีที่ต้องระวัง  เป็นสีของเลือด ในสมัยโรมัน 
สีของราชวงศ์เป็นสีแดง แสดงความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์และอำนาจ


สีเขียว  
แสดงถึงธรรมชาติสีเขียว ร่มเย็น มักใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับการ 
อนุรักษ์ธรรมชาติ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การเกษตร   การเพาะปลูก 
การเกิดใหม่ ฤดูใบไม้ผลิ การงอกงาม ในเครื่องหมายจราจร หมาย 
ถึงความปลอดภัย  ในขณะเดียวกัน อาจหมายถึงอันตราย ยาพิษ 
 เนื่องจากยาพิษ  และสัตว์มีพิษ ก็มักจะมีสีเขียวเช่นกัน





สีเหลือง  
แสดงถึงความสดใส  ความเบิกบาน โดยเรามักจะใช้ดอกไม้สีเหลือง 
ในการไปเยี่ยมผู้ป่วย และแสดงความรุ่งเรืองความมั่งคั่ง และฐานันดร 
ศักดิ์ ในทางตะวันออกเป็นสีของกษัตริย์  จักรพรรดิ์ของจีนใช้ฉลอง 
พระองค์สีเหลือง  ในทางศาสนาแสดงความเจิดจ้า ปัญญา พุทธศาสนา 
และยังหมายถึงการเจ็บป่วย  โรคระบาด ความริษยา ทรยศ  หลอกลวง









สีน้ำเงิน  
แสดงถึงความเป็นสุภาพบุรุษ  มีความสุขุม หนักแน่น   และยังหมายถึง 
ความสูงศักดิ์ ในธงชาติไทย สีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ ในศาสนา 
คริตส์เป็นสีประจำตัวแม่พระ โดยทั่วไป สีน้ำเงินหมายถึงโลก  ซึ่งเราจะ 
เรียกว่า โลกสีน้ำเงิน (Blue Planet)   เนื่องจากเป็นดาวเคราะห์ที่มองเห็น 
จากอวกาศโดยเห็นเป็นสีน้ำเงินสดใส เนื่องจากมีพื้นน้ำที่กว้างใหญ่








สีม่วง 
แสดงถึงพลัง  ความมีอำนาจ ในสมัยอียิปต์สีม่วงแดงเป็นสีของกษัติรย์ 
ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยโรมัน  นอกจากนี้  สีม่วงแดงยังเป็นสีชุดของพระ 
สังฆราช  สีม่วงเป็นสีที่มีพลังหรือการมีพลังแอบแฝงอยู่ และเป็นสีแห่ง 
ความผูกพัน องค์การลูกเสือโลกก็ใช้สีม่วง ส่วนสีม่วงอ่อนมักหมายถึง 
ความเศร้า ความผิดหวังจากความรัก









สีฟ้า 
แสดงถึงความสว่าง ความปลอดโปร่ง เปรียบเหมือนท้องฟ้า เป็นอิสระ 
เสรี เป็นสีขององค์การสหประชาชาติ เป็นสีของความสะอาด ปลอดภัย 
สีขององค์การอาหารและยา (อย.) แสดงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การ 
ใช้พลังงานอย่างสะอาด แสดงถึงอิสรภาพ ที่สามารถโบยบินเป็นสีแห่ง 
ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่ไม่มีขอบเขต













สีทอง 
มักใช้แสดงถึง   คุณค่า  ราคา  สิ่งของหายาก  ความสำคัญ  ความสูงส่ง 
สูงศักดิ์   ความศรัทธาสูงสุด  ในศาสนาพุทธ หรือ    เป็นสีกายของพระ 
พุทธรูป  ในงานจิตรกรรมเป็นสีกายของพระพุทธเจ้า พระมหากษัติรย์ 
หรือเป็นส่วนประกอบของเครื่องทรง  เจดีย์ต่าง ๆ มักเป็นสีทอง  หรือ 
ขาว และเป็นเครื่องประกอบยศศักดิ์ ของกษัตริย์และขุนนาง














สีขาว 
แสดงถึงความสะอาด  บริสุทธิ์ เหมือเด็กแรกเกิด  แสดงถึงความว่างเปล่า 
ปราศจากกิเลส ตัณหา เป็นสีอาภรณ์ของผู้ทรงศีล ความเชื่อถือ ความดีงาม 
ความศรัทธา และหมายถึงการเกิดโดยที่แสงสีขาว เป็นที่กำเนิดของแสงสี 
ต่าง ๆ เป็นความรักและความหวัง ความห่วงใยเอื้ออาทรและเสียสละของ 
พ่อแม่ ความอ่อนโยน  จริงใจ บางกรณีอาจหมายถึง ความอ่อนแอ ยอมแพ้












สีดำ 
แสดงถึงความมืด ความลึกลับ สิ้นหวัง ความตายเป็นที่สิ้นสุดของทุกสิ่ง 
โดยที่สีทุกสี เมื่ออยู่ในความมืด  จะเห็นเป็นสีดำ  นอกจากนี้ยังหมายถึง 
ความชั่วร้าย ในคริสต์ศาสนาหมายถึง ซาตาน อาถรรพ์เวทมนต์ มนต์ดำ 
ไสยศาสตร์ ความชิงชัง ความโหดร้าย  ทำลายล้าง  ความลุ่มหลงเมามัว 
แต่ยังหมายถึงความอดทน กล้าหาญ เข้มแข็ง และเสียสละได้ด้วย














สีชมพู 
แสดงถึงความอบอุ่น อ่อนโยน ความอ่อนหวาน นุ่มนวล 
 ความน่ารัก แสดงถึงความรักของมนุษย์โดยเฉพาะรุ่นหนุ่มสาว  เป็นสีของความ เอื้ออาทร  ปลอบประโลม  เอาใจใส่ดูแล  ความปรารถนาดี  และอาจ หมายถึงความเป็นมิตร  เป็นสีของวัยรุ่น   โดยเฉพาะผู้หญิง และนิยม ใช้กับสิ่งของเครื่องใช้ของเด็กวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่ 












องค์ประกอบศิลป์ ( Composition ) คือ?

         การนำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์ ดัดแปลง สร้างสรรค์ จัดร่วมเข้าด้วยกัน ตามสัดส่วนรูปร่าง รูปทรงตรงตามคุณสมบัติของสิ่งนั้นๆ เพื่อให้เกิดผลงานที่มี ความเหมาะสมส่วนจะเกิดความงดงาม น่าสนใจหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำเสนอภาพรวมของงาน ว่ามีการสื่อถึงเรื่องราว วัตถุประสงค์ ในงานการออกแบบของเรา

      โดยคำนึงถึงปัจจัยที่ใช้ในการออกแบบ ดังนี้
      1. สัดส่วนของภาพ (Proportion)
      2. ความสมดุลของภาพ (Balance)
      3. จังหวะลีลาของภาพ (Rhythm)
      4. การเน้นหรือจุดเด่นของภาพ (Emphasis)
      5. เอกภาพ (Unity)
      6. ความขัดแย้ง (Contrast)
      7. ความกลมกลืน (Harmony)
      สิ่งต่างๆ ที่เราควรนำมาใช้ประกอบเข้าด้วยกัน คือ จุด, เส้น, รูปร่าง– รูปทรง, สี, ลักษณะผิว ส่วนประกอบต่างๆ ของศิลปะนำมาจัดประสานสัมพันธ์กัน ให้เกิดคุณค่า ทางความงาม เราเรียกว่า องค์ประกอบศิลป์ (Composition)

      รูปแบบการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ
      การจัดองค์ประกอบ เป็นหลักที่สำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใดๆ ก็ตาม ล้วนมีจุดเด่นที่เน้นเป็นหลักใหญ่ๆ อยู่ในตัวดัวยกัน 2 ประการ คือ
      ทางด้านรูปทรง เกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่างๆ ของศิลปะ ได้แก่ เส้น, สี, แสงและเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความงามทางศิลป์ (Art Composition)

      ทางด้านเรื่องราว หรือสาระของผลงานที่ศิลปินผู้สร้างสรรค์ต้องการที่จะแสดงออก ให้ผู้ชมได้สัมผัส รับรู้ โดยอาศัยรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบศิลป์นั่นเองหรืออาจกล่าวได้ว่า ศิลปินจะนำเสนอเนื้อหาเรื่องราว ผ่านรูปลักษณะที่เกิดจากรวมองค์ประกอบทางศิลปะเข้าด้วยกัน ถ้าองค์ประกอบที่จัดขึ้นไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนอ งานศิลปะนั้นๆ ก็จะขาดความงามของเรื่องราวที่จะเสนอถึงเรื่องที่ต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ได้ตรงกับหัวข้อเรื่องหรือชื่อภาพนั้นไป ดังนั้น การจัดองค์ประกอบศิลป์ จึงให้ความสำคัญในการคิด ประยุกต์ ดัดแปลง เพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะให้เกิดความสวยงาม ดึงดูดผู้ชม หรือหน้าสนใจในงานนั้นๆ เพราะจะทำให้

      ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์
      องค์ประกอบศิลป์ เป็นเรื่องที่ผู้เรียนศิลปะทุกคนต้องเรียนรู้เป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะนำไปใช้ได้ให้เกิดประสิทธิภาพในการออกแบบโครงสร้างหรือรูปร่างของภาพ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบต่างๆ ได้ เช่น การจัดวางสิ่งของเพื่อตกแต่งบ้าน, การจัดสำนักงาน,การจัดโต๊ะอาหาร, จัดสวน, การออกแบบปกรายงาน, ตัวอักษร, และการจัดบอร์ดกิจกรรมต่างๆ สามารถนำไปใช้กับการออกแบบอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีซึ่งเหล่านี้ เราต้องอาศัยหลักองค์ประกอบศิลป์ทั้งสิ้น

      ส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ที่สำคัญ
      ซึ่งจะเป็นส่วนที่เรานำมาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทุกรูปแบบได้ดี ให้น่าสนใจ และมีความสวยงาม ดังนี้
1. จุด ( Point, Dot )
      คือ ส่วนประกอบที่เล็กที่สุด เป็นส่วนเริ่มต้นไปสู่ส่วนอื่นๆ เช่น การนำจุดมาเรียงต่อกันตามตำแหน่งที่เหมาะสม และซ้ำๆ กัน จะทำให้เรามองเห็นเป็น เส้น รูปร่าง รูปทรง ลักษณะผิว และการออกแบบที่น่าตื่นเต้นได้ จากจุดหนึ่ง ถึงจุดหนึ่งมีเส้นที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่เห็นได้ด้วยจินตนาการ เราเรียกว่า เส้นโครงสร้าง นอกจากจุดที่เรานำมาจัดวางเพื่อการออกแบบ เราสามารถพบเห็นลักษณะการจัดวางจุดจากสิ่งเป็นธรรมชาติ ที่อยู่รอบๆ ตัวเราได้ เช่น ข้าวโพด รวงข้าว เมล็ดถั่ว ก้อนหิน เปลือกหอย ใบไม้ ลายของสัตว์นานาชนิด ได้แก่ เสือ ไก่ นก สุนัข งู ม้าลาย และแมว เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ธรรมชาติได้ออกแบบไว้อย่างสวยงาม มีระเบียบ มีการซ้ำกันอย่าง มีจังหวะและมีอิทธิพลต่อความคิดของมนุษย์เราเป็นอย่างมาก เช่น การออกแบบลูกคิด ลูกบิดประตู การร้อยลูกปัด สร้อยคอ และเครื่องประดับต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากจุดทั้งสิ้น

 2. เส้น ( Line)    
      เกิดจากจุดที่เรียงต่อกัน หรือเกิดจากการลากเส้นไปยังทิศทางต่างๆ มีหลายลักษณะ เช่น ตั้ง นอน เฉียง โค้ง ฯลฯ เส้น เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด หรือถ้านำจุดมาวางเรียงต่อๆ กันก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขตของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง สี น้ำหนัก รวมทั้งเป็นแกนหลักโครงสร้างของรูปร่างรูปทรงต่างๆ

      เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดงความรู้สึกและอารมณ์ด้วย การสร้างเป็นรูปทรงต่างๆ ขึ้น เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง (Straight Line) และ เส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่างๆ กันและให้ความหมาย ความรู้สึก ที่แตกต่างกันออกไปด้วย

      ลักษณะของเส้น
      เส้นมีจุดเด่นที่นำมาใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ทำให้เกิดรูปร่างรูปทรงต่างๆ มากมาย เพื่อต้องการสื่อให้เกิดความรู้สึกทางด้านอารมณ์ จากการสร้างสรรค์ของงาน
1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่นเป็น
    สัญลักษณ์ของความซื่อตรง
2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง
4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็นจังหวะ
    มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพอ่อน
    โยน นุ่มนวล
6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่
    หมุนวน ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด
7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทางที่
    รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง
8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด

      ความสำคัญของเส้น
      - ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วนๆ
      - กำหนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา
      - กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึ้น
      - ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ ของแสดงและเงา หมายถึง การแรเงาด้วยเส้น
      - ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ

3. รูปร่างและรูปทรง ( Shape and Form)  
รูปร่าง คือ พื้นที่ๆ ล้อมรอบด้วยเส้นที่แสดงความกว้าง และความยาว รูปร่างจึงมีสองมิติรูปทรง คือ ภาพสามมิติที่ต่อเนื่องจากรูปร่าง โดยมีความหนา หรือความลึก ทำให้ภาพที่เห็นมี ความชัดเจน และสมบูรณ์

      รูปร่างและรูปทรงแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ คือ
      รูปเรขาคณิต (Geometric Form) มีรูปร่างรูปทรงที่แน่นอน มาตรฐาน สามารถวัดหรือคำนวณได มีกฎเกณฑ์ เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี ห้าเหลี่ยม หกเหลี่ยม พีระมิด เป็นต้น รูปเรขาคณิตเป็นโครงสร้างพื้นฐานของรูปทรงต่างๆ ดังนั้น การสร้างสรรค์รูปอื่นๆ ควรศึกษารูปเรขาคณิตให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อน

      รูปทรงธรรมชาติ (Nature Form)เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ นำรูปทรงที่มีอยู่ตามธรรมชาติรอบตัวเรา เช่น ดอกไม้, ใบไม้, สัตว์ต่างๆ , สัตวนำ้, แมลง, มนุษย์ เป็นต้น มาใช้เป็นแม่แบบในการออกแบบและสร้างสรรค์ โดยยังคงให้ความรู้สึกและรูปทรงที่เป็นธรรมชาติอยู่ส่วนผลงานบางชิ้น ที่ล้อเลียนธรรมชาติ โดยใช้รูปทรงเช่น ตุ๊กตาหมี, การ์ตูน, อวัยวะของร่างกายเรา เป็นต้น ยังคงเป็นรูปทรงตามธรรมชาติ ให้เห็นอยู่ บางครั้งได้มีการนำวัสดุที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ เช่น เปลือกหอย, กิ่งไม้, ขนนก ฯลฯ นำมาออกแบบ ดัดแปลง สร้างสรรค์ผลงาน รูปทรงก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก

      รูปทรงอิสระ (Free Form) เป็นรูปแบบโครงสร้างที่ไม่แน่นอน ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว เลื่อนไหล ให้ความอิสระ และได้อารมณ์ ความเคลื่อนไหวเป็นอย่างดี รูปอิสระอาจเกิดจากรูปเรขาคณิตหรือรูปธรรมชาติ ที่ถูกกระทำจนมีรูปลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิมจนไม่เหลือสภาพเดิม

4.  พื้นผิว  Texture
     พื้นผิว หมายถึง ลักษณะของบริเวณผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ ที่เมื่อสัมผัสแล้วสามารถ
  รับรู้ได้ ว่ามีลักษณะอย่างไร คือรู้ว่า หยาบ ขรุขระ เรียบ มัน ด้าน เนียน สาก  เป็นต้น
  ลักษณะที่สัมผัสได้ของพื้นผิว มี  2  ประเภท คือ
 
          1. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยมือ หรือกายสัมผัส เป็นลักษณะพื้นผิวที่เป็นอยู่จริง ๆ ของ
  ผิวหน้าของวัสดุนั้น ๆ   ซึ่งสามารถสัมผัสได้จากงานประติมากรรม งานสถาปัตกรรม
  และสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ
         2. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยสายตา จากการมองเห็นแต่ไม่ใช่ลักษณะที่แท้จริงของผิว
  วัสดุนั้น ๆ เช่น การวาดภาพก้อนหินบนกระดาษ   จะให้ความรู้สึกเป็นก้อนหินแต่  
  มือสัมผัสเป็นกระดาษ  หรือใช้กระดาษพิมพ์ลายไม้ หรือลายหินอ่อน  เพื่อปะ  ทับ
  บนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้ถือว่า    เป็นการสร้างพื้นผิวลวงตา
  ให้สัมผัสได้ด้วยการมองเห็นเท่านั้น
 
         พื้นผิวลักษณะต่าง ๆ จะให้ความรู้สึกต่องานศิลปะที่แตกต่างกัน พื้นผิวหยาบจะ
  ให้ความรู้สึกกระตุ้นประสาท หนักแน่น มั่นคง แข็งแรง ถาวร    ในขณะที่ผิวเรียบ
  จะให้ความรู้สึกเบา สบาย การใช้ลักษณะของพื้นผิวที่แตกต่างกัน  เห็นได้ชัดเจน
  จากงานประติมากรรม และมากที่สุดในงานสถาปัตยกรรมซึ่งมีการรวมเอาลักษณะ
  ต่าง ๆ กันของพื้นผิววัสดุหลาย ๆ อย่าง   เช่น อิฐ  ไม้ โลหะ  กระจก  คอนกรีต หิน
  ซึ่งมีความขัดแย้งกันแต่สถาปนิกได้นำมาผสมกลมกลืนได้อย่างเหมาะสม ลงตัวจน
  เกิดความสวยงาม

5. ค่าน้ำหนัก  Value
       ค่าน้ำหนัก    คือ   ค่าความอ่อนแก่ของบริเวณที่ถูกแสงสว่าง และบริเวณที่เป็นเงาของวัตถุหรือ ความอ่อน- ความเข้ม
ของสีหนึ่ง ๆ หรือหลายสี เช่น สีแดง มีความเข้มกว่าสีชมพู   หรือ  สีแดงอ่อนกว่าสีน้ำเงิน  เป็นต้น
นอกจากนี้ยังหมายถึงระดับความเข้มของแสงและระดับ ความมืดของเงา ซึ่งไล่เรียงจากมืดที่สุด (สีดำ)ไปจนถึงสว่างที่สุด (สีขาว)
น้ำหนักที่อยู่ระหว่างกลางจะเป็นสีเทา ซึ่งมีตั้งแต่เทาแก่ที่สุด จนถึงเทาอ่อนที่สุด    
การใช้ค่าน้ำหนักจะทำให้ภาพดูเหมือนจริง และมีความกลมกลืน ถ้าใช้ค่าน้ำหนักหลาย ๆ  ระดับ
จะทำให้มีความกลมกลืนมากยิ่งขึ้น และถ้าใช้ค่าน้ำหนักจำนวนน้อยที่แตกต่างกันมาก
จะทำให้เกิด ความแตกต่าง ความขัดแย้ง
                                  
                     
                                  

           
          แสงและเงา (Light & Shade) เป็นองค์ประกอบของศิลป์ที่อยู่คู่กัน   แสง เมื่อส่องกระทบ กับวัตถุ จะทำให้เกิดเงา   แสงและเงา    เป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก  ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่   กับความเข้มของเแสง  ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้น      และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย เงาจะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่าง  จะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอ  ค่าน้ำหนัก   ของแสงและเงานที่เกิดบนวัตถุ     สามารถจำแนกเป็นลักษณะที่   ต่าง ๆ ได้ดังนี้

    1. บริเวณแสงสว่างจัด  (Hi-light)  เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด   จะมี
  ความสว่างมากที่สุด ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกำเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัด
    2. บริเวณแสงสว่าง  (Light) เป็นบริเวณที่ได้รับแสงสว่าง รองลงมาจากบริเวณแสงสว่าง
  จัด เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงออกมา และเริ่มมีค่าน้ำหนักอ่อน ๆ
    3. บริเวณเงา (Shade)  เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับแสงสว่าง     หรือเป็น  บริเวณที่ถูกบดบังจาก
  แสงสว่าง ซึ่งจะมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง
    4. บริเวณเงานเข้มจัด (Hi-Shade) เป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด หรือ
  เป็นบริเวณที่ถูกบดบังมาก ๆ หลาย ๆ ชั้น จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด
    5. บริเวณเงาตกทอด เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาของวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณเงาที่อยู่
  ภายนอกวัตถุ และจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับ ความเข้มของเงา น้ำหนักของพื้น
  หลัง ทิศทางและระยะของเงา

    ความสำคัญของค่าน้ำหนัก
    1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง
    2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
    3. ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง
    4. ทำให้เกิดระยะความตื้น - ลึก และระยะไกล้ - ไกลของภาพ
    5. ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ

6. สี
       สี คือการรับรู้ความถี่ (หรือความยาวคลื่น) ของแสง ในทำนองเดียวกันกับที่ระดับเสียง (หรือโน้ตดนตรี) คือการรับรู้ความถี่หรือความยาวคลื่นของเสียง
มนุษย์สามารถรับรู้สีได้เนื่องจากโครงสร้างอันละเอียดอ่อนของดวงตา ซึ่งมีความสามารถในการรับรู้แสงในช่วงความถี่ที่ต่างกัน การรับรู้สีนั้นขึ้นกับปัจจัยทางชีวภาพ (คนบางคนตาบอดสี ซึ่งหมายถึงคนคนนั้นเห็นสีบางค่าต่างจากคนอื่นหรือไม่สามารถแยกแยะสีที่มีค่าความอิ่มตัวใกล้เคียงกันได้ หรือแม้กระทั่งไม่สามารถเห็นสีได้เลยมาแต่กำเนิด), ความทรงจำระยะยาวของบุคคลผู้นั้น, และผลกระทบระยะสั้น เช่น สีที่อยู่ข้างเคียง
บางครั้งเราเรียกแขนงของวิชาที่ศึกษาเรื่องของสีว่า รงคศาสตร์ วิชานี้จะครอบคลุมเรื่องของการรับรู้ของสีโดยดวงตาของมนุษย์, แหล่งที่มาของสีในวัตถุ, ทฤษฎีสีในวิชาศิลปะ, และฟิสิกส์ของสีในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า  
        สี คือลักษณะของแสงที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นเป็นสี (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
ในทางวิทยาศาสตร์ให้คำจำกัดความของสีว่า เป็นคลื่นแสงหรือความเข้มของแสงที่สายตาสามารถมองเห็น
ในทางศิลปะ  สีคือ ทัศนธาตุอย่างหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงานศิลปะ และใช้ในการสร้างงานศิลปะ
โดยจะทำให้ผลงานมีความสวยงาม  ช่วยสร้างบรรยากาศ มีความสมจริง เด่นชัดและน่าสนใจมากขึ้น
                  สีเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของงานศิลปะ และเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก
 อารมณ์ และจิตใจ ได้มากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ในชีวิตของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสีต่าง ๆ
อย่างแยกไม่ออก โดยที่สีจะให้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น
       1 ใช้ในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นชัดเจน
       2 ใช้ในการจัดองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม กลมกลืน เช่น การแต่งกาย  การจัดตกแต่งบ้าน
       3 ใช้ในการจัดกลุ่ม พวก คณะ ด้วยการใช้สีต่าง ๆ เช่น คณะสี  เครื่องแบบต่าง ๆ
       4 ใช้ในการสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์ หรือใช้บอกเล่าเรื่องราว
       5 ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สร้างบรรยากาศ  สมจริงและน่าสนใจ
       6 เป็นองค์ประกอบในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์

ชนิดของสี
สีน้ำ   WATER COLOUR
    สีน้ำ เป็น สีที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ ทั้งในแถบยุโรป และเอเชีย โดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่น
ซึ่งมีความสามารถในการระบายสีน้ำ      แต่ในอดีตการระบายสีน้ำมักใช้เพียงสีเดียว    คือ สีดำ
ผู้ที่จะระบายได้อย่างสวยงามจะต้องมีทักษะการใช้พู่กันที่สูงมาก         การระบายสีน้ำจะใช้น้ำ
เป็นส่วนผสม และทำละลายให้เจือจาง    ในการใช้สีน้ำ ไม่นิยมใช้สีขาวผสมเพื่อให้มีน้ำหนัก
อ่อนลง และไม่นิยมใช้สีดำผสมให้มีน้ำหนักเข้มขึ้น        เพราะจะทำให้เกิดน้ำหนักมืดเกินไป
แต่จะใช้สีกลางหรือสีตรงข้ามผสมแทน ลักษณะของภาพวาดสีน้ำ    จะมีลักษณะใส  บาง และ
สะอาด การระบายสีน้ำต้องใช้ความชำนาญสูงเพราะผิดพลาดแล้วจะแก้ไขยากจะระบายซ้ำ ๆ
ทับกันมาก ๆ ไม่ได้จะทำให้ภาพออกมามีสีขุ่น ๆ ไม่น่าดู หรือที่เรียกว่า สีเน่า  สีน้ำที่มีจำหน่าย
ในปัจจุบัน จะบรรจุในหลอด เป็นเนื้อสีฝุ่นที่ผสมกับกาวอะราบิค ซึ่งเป็นกาวที่สามารถละลาย
น้ำได้ มีทั้งลักษณะที่โปร่งแสง ( Transparent ) และกึ่งทึบแสง ( Semi-Opaque )    ซึ่งจะมี
ระบุ ไว้ข้างหลอด  สีน้ำนิยมระบายบนกระดาษที่มีผิวขรุขระ หยาบ
สีโปสเตอร์   POSTER  COLOUR
   สีโปสเตอร์  เป็นสีชนิดสีฝุ่น (Tempera) ที่ผสมกาวน้ำบรรจุเสร็จเป็นขวด  การใช้งานเหมือน
กับสีน้ำ คือใช้น้ำเป็นตัวผสมให้เจือจาง     สีโปสเตอร์เป็นสีทึบแสง มีเนื้อสีข้น สามารถระบายให้มี
เนื้อเรียบได้    และผสมสีขาวให้มีน้ำหนักอ่อนลงได้เหมือนกับสีน้ำมัน  หรือสีอะครีลิค       สามารถ
ระบายสีทับกันได้  มักใช้ในการวาดภาพ  ภาพประกอบเรื่อง   ในงานออกแบบ ต่าง   ๆ    ได้สะดวก
ในขวดสีโปสเตอร์มีส่วนผสมของกลีเซอรีน จะทำให้แห้งเร็ว

สีชอล์ค  PASTEL
   สีชอล์ค  เป็นสีฝุ่นผงละเอียดบริสุทธิ์นำมาอัดเป็นแท่ง ใช้ในการวาดภาพ มากว่า 250 ปีแล้ว
ปัจจุบัน มีการผสมขี้ผึ้งหรือกาวยางไม้เข้าไปด้วยแล้วอัดเป็นแท่งในลักษณะของดินสอสี  แต่มีเนื้อ
ละเอียดกว่า  แท่งใหญ่กว่า และมีราคาแพงกว่ามาก  มักใช้ในการวาดภาพเหมือน



สีฝุ่น  TEMPERA
   สีฝุ่น เป็นสีเริ่มแรกของมนุษย์ ได้มาจากธรรมชาติ ดิน หิน แร่ธาตุ พืช  สัตว์ นำมาทำให้ละเอียด
เป็นผง ผสมกาวและน้ำ กาวทำมาจากหนังสัตว์ กระดูกสัตว์ สำหรับช่างจิตรกรรมไทยใช้     ยางมะขวิด
หรือกาวกระถิน ซึ่งเป็นตัวช่วยให้สีเกาะติดพื้นผิวหน้าวัตถุไม่หลุดได้โดยง่าย  ในยุโรปนิยมเขียนสีฝุ่น
โดยผสมกับกาวยาง กาวน้ำ หรือไข่ขาว สีฝุ่นเป็นสีที่มีลักษณะทึบแสง มีเนื้อสีค่อนข้างหนา  เขียนสีทับ
กันได้ สีฝุ่นมักใช้ในการเขียนภาพทั่วไป     โดยเฉพาะภาพฝาผนัง  ในสมัยหนึ่งนิยมเขียนภาพผาฝนัง
ที่เรียกว่า สีปูนเปียก (Fresco) โดยใช้สีฝุ่นเขียนในขณะที่ปูนที่ฉาบผนังยังไม่แห้งดี  เนื้อสีจะซึมเข้าไป
ในเนื้อปูนทำให้ภาพไม่หลุดลอกง่าย สีฝุ่นในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นผง เมื่อใช้งานนำมาผสมกับน้ำโดย
ไม่ต้องผสมกาว เนื่องจากในกระบวนการผลิตได้ทำการผสมมาแล้ว  การใช้งานหมือนกับสีโปสเตอร์

ดินสอสี  CRAYON  
   ดินสอสี   เป็นสีผงละเอียด ผสมกับขี้ผึ้งหรือไขสัตว์  นำมาอัดให้เป็นแท่งอยู่ในลักษณะของดินสอ
 เพื่อให้เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ใช้งาน มีลักษณะคล้ายกับสีชอล์ค แต่เป็นสีที่มีราคาถูก  เนื่องจากมีส่วนผสม
อื่น ๆ ปะปนอยู่มาก มีเนื้อสีน้อยกว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถละลายน้ำ หรือน้ำมันได้  โดยเมื่อใช้
ดินสอสีระบายสีแล้วนำพู่กันจุ่มน้ำมาระบายต่อ ทำให้มีลักษณะคล้ายกับภาพสีน้ำ ( Aquarelle ) บางชนิด
สามารถละลายได้ในน้ำมัน ซึ่งทำให้กันน้ำได้

สีเทียน   OIL PASTEL
   สีเทียนหรือสีเทียนน้ำมัน เป็นสีฝุ่นผงละเอียด ผสมกับไขมันสัตว์หรือขี้ผึ้ง แล้วนำมาอัดเป็นแท่ง
มีลักษณะทึบแสง สามารถเขียนทับกันได้  การใช้สีอ่อนทับสีเข้มจะมองเห็นพื้นสีเดิมอยู่บ้าง  การผสมสี
อื่น ๆใช้การเขียนทับกัน สีเทียนน้ำมันมักไม่เกาะติดพื้น สามารถขูดสีออกได้ และกันน้ำ   ถ้าต้องการให้
สีติดแน่นทนนาน จะมีสารพ่นเคลือบผิวหน้าสี  สีเทียนหรือสีเทียนน้ำมัน มักใช้เป็นสีฝึกหัดสำหรับเด็ก
เนื่องจากใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน และมีราคาถูก

สีอะครีลิค  ACRYLIC  COLOUR
 สีอะครีลิค  เป็นสีที่มีส่วนผสมของสารพลาสติกโพลีเมอร์ ( Polymer) จำพวก อะครีลิค ( Acrylic ) หรือ
ไวนิล ( Vinyl ) เป็นสีที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ล่าสุด วลาจะใช้นำมาผสมกับน้ำ  ใช้งานได้เหมือนกับสีน้ำ
และสีน้ำมัน มีทั้งแบบโปร่งแสง และทึบแสง แต่จะแห้งเร็วกว่าสีน้ำมัน 1 - 6 ชั่วโมง  เมื่อแห้งแล้วจะมี
คุณสมบัติกันน้ำได้และเป็นสีที่ติดแน่นทนนาน  คงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเก็บไว้ได้นาน ๆ
ยึดเกาะติดผิวหน้าวัตถุได้ดี    เมื่อระบายสีแล้วอาจใช้น้ำยาวานิช  ( Vanish )  เคลือบผิวหน้าเพื่อป้องกัน
การขูดขีด เพื่อให้คงทนมากยิ่งขึ้น  สีอะครีลิคที่ใช้วาดภาพบรรจุในหลอด  มีราคาค่อนข้างแพง

สีน้ำมัน  OIL  COLOUR
   สีน้ำมัน ผลิตจากการผสมของสีฝุ่นกับน้ำมัน ซึ่งเป็นน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันลินสีด ( Linseed )
ซึ่งกลั่นมาจากต้นแฟลกซ์  หรือน้ำมันจากเมล็ดป๊อบปี้        สีน้ำมันเป็นสีทึบแสง เวลาระบายมักใช้สีขาว
ผสมให้ได้น้ำหนักอ่อนแก่  งานวาดภาพสีน้ำมัน มักเขียนลงบนผ้าใบ  (Canvas )  มีความคงทนมากและ
กันน้ำ ศิลปินรู้จักใช้สีน้ำมันวาดภาพมาหลายร้อยปีแล้ว  การวาดภาพสีน้ำมัน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือ
เป็นปีก็ได้ เนื่องจากสีน้ำมันแห้งช้ามาก ทำให้ไม่ต้องรีบร้อน สามารถวาดภาพสีน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ ๆ
และสามารถแก้ไขงาน ด้วยการเขียนทับงานเดิม  สีน้ำมันสำหรับเขียนภาพจะบรรจุในหลอด  ซึ่งมีราคา
สูงต่ำขึ้นอยู่กับคุณภาพ  การใช้งานจะผสมด้วยน้ำมันลินสีด  ซึ่งจะทำให้เหนียวและเป็นมัน    แต่ถ้าใช้
น้ำมันสน จะทำให้แห้งเร็วขึ้นและสีด้าน พู่กันที่ใช้ระบายสีน้ำมันเป็นพู่กันแบนที่มีขนแข็งๆ   สีน้ำมัน
เป็นสีที่ศิลปินส่วนใหญ่นิยมใช้วาดภาพ มาตั้งแต่สมัยเรอเนซองส์ยุคปลาย


แม่สี  Primary Colour
       แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม
 แม่สี มือยู่  2 ชนิด คือ
    1. แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดง
 สีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปของแสงรังสี  ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี
 คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพ ภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสี
 ในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น (ดูเรื่อง แสงสี )
    2. แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวน
 ทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้
 งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ  วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ
    แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสี ธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ใน
 วงจรสี จะแสดงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  วงจรสี   ( Colour Circle)
   สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง   สีเหลือง  สีน้ำเงิน
 
   สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้
  เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
                   สีแดง ผสมกับสีเหลือง  ได้สี ส้ม
                   สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีม่วง
                   สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีเขียว
 
   สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆ
   อีก 6  สี คือ
                   สีแดง ผสมกับสีส้ม  ได้สี ส้มแดง
                   สีแดง ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงแดง
                   สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง
                   สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว  ได้สีเขียวน้ำเงิน
                   สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงน้ำเงิน
                   สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง
 
   วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และ
  สีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ
 
  สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่าง
  รุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใส
  เท่าที่ควร  การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้
     1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย
     2. ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี
     3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี
 
  สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีน้ำตาล กับ สีเทา
  สีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมี
  คุณสมบัติสำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้น ๆ เข้มขึ้นโดยไม่เปลี่ยน
  แปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล  
  สีเทา เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติ
  ที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ แล้วจะทำให้ มืด หม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนัก
 อ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทา




คำสำคัญ (keywords): องค์ประกอบศิลป์ ( Composition ) คือ?

ที่มา http://www.gotoknow.org/blogs/posts/417795
        http://www.prc.ac.th/newart/webart/composition.html

หลักการออกแบบ


หลักการออกแบบ มีดังนี้

1.       เอกภพ ( unity)

2.       ความสมดุลย์ ( balance)

3.       การเน้นให้เกิดจุดเด่น ( Emphasis)

4.       เส้นแย้ง ( opposition)

5.       ความกลมกลืน ( Harmony )

6.       จังหวะ (rhythm)

7.       ความลึก / ระยะ ( Perspective)

8.       ความขัดแย้ง (Contrast)

9.       การซ้ำ ( Repetition)


  1.    ความเป็นหน่วย / เอกภพ ( Unity)

 ในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้น ๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆ ก็คงต้องถือหลักการนี้เช่นกัน

การสร้างเอกภพในทางปฎิบัติมี 2 แบบคือ

-          Static unity การจัดกลุ่มของ from และ shape ที่แข็ง เช่น รูปทรงเรขาคณิต จะให้ผลทรงพลังเด็ดขาด แข็งแรก และ แน่นอน

-          Dynamic unity เป็นการเน้นไปทางอ่อนไหวการเคลื่อนไหว ซึ่งอยู่รูปในลักษณะ gradation or harmony or contrast อย่างใดอย่างหนึ่งให้แสดงออกมาจากงานชิ้นนั้นด้วยจะทำให้งานสมบูรณ์ขึ้น  การจัดองค์ประกอบที่ดีนั้นควรให้ส่วนประกอบรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่แตกกระจาย  การรวมตัวกันจะทำให้เกิดหน่วย หรือเอกภพ  จะได้ส่วนประธานเป็นจุดสนใจ  และมีส่วนประกอบต่างๆ ให้น่าสนใจ
              
                 
           เอกภาพทางเส้น การประสานกันของเส้นรูปทรงและพื้นผิว
               ในภาพนี้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเรื่องเส้น ทิศทางของเส้น รูปทรงของเส้น พื้นผิวเหมือนกัน ผิวเรียบ และวัสดุชนิดเดียวกัน 
 
2.    ความสมดุล ( Balance ) คือ

ความเท่ากันหรือเท่าเทียมกันทั้งสองข้าง แบ่งออกเป็น

        -          สมดุลแบบทั้ง 2 ข้างเหมือนกัน (Symmetrical balance)
ทั้งซ้ายขวาเหมือนกัน  การสมดุลแบบนี้จะทำให้ดูมั่นคงหนักแน่น  ยุติธรรม เช่น งานราชการ ใบวุฒิบัตร ประกาศนียบัตร การถ่ายรูปติดบัตรเป็นต้น
                       
                                 
                           
       -          สมดุลแบบ 2 ข้างไม่เหมือนกัน (Asymmetrical balance )ด้านซ้ายและขวาจะ

          ไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากันด้วยน้ำหนักทางสายตา เช่น สมดุลด้วยน้ำหนัก

          และขนาดของรูปทรง ด้วยจุดสนใจ ด้วยจำนวนด้วยความแตกต่างของรายละเอียด

          ด้วยค่าความเข้ม – จางของสี เป็นต้น

                         


3.    การเน้นให้เกิดจุดเด่น (Emphasis )

ในการออกแบบจะประกอบด้วยจุดสำคัญหรือส่วนประธานในภาพ  จุดรองลงมาหรือส่วนรองประธาน  ส่วนประกอบหรือพวกรายละเอียดปลีกย่อย ต่างๆ หลักและวิธีในการใช้การเน้น

-          เน้นด้วยการใช้หลักเรื่อง Contrast

-          เน้นด้วยการประดับ

-          เน้นด้วยการจัดกลุ่มในส่วนที่ต้องการเน้น

-          เน้นด้วยการใช้สี

-          เน้นด้วยขนาด

 -          เน้นด้วยการทำจุดรวมสายตา
                                              
                          

 
4.    เส้นแย้ง ( Opposition)

เป็นการจัดองค์ประกอบโดยการนำเอาเส้นในลักษณะแนวนอนและแนวตั้งฉากมาประกอบกันให้เป็นเนื้อหาที่ต้องการ มีลักษณะของภาพแบบเส้นแย้งในธรรมชาติรอบๆ ตัวเรา อยู่มากมาย นับว่าเป็นรากฐานของการจัดองค์ประกอบ
            การจัดองค์ประกอบให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุก   ตื่นเต้น น่าสนใจ ลดความเรียบ น่าเบื่อ ให้ความรู้สึกฝืนใจ ขัดใจ แต่ชวนมอง



5.    ความกลมกลืน ( Harmony )

การจัดองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกันหรือคล้ายๆ กันมาจัดภาพทำให้เกิดความนุ่มนวลกลมกลืนกันมี 3 แบบดังนี้

A.    กลมกลืนในด้านประโยชน์ใช้สอย คือ ทำให้เป็นชุดเดียวกัน

B.    กลมกลืนในความหมาย เช่น การออกแบบเครื่องหมายการค้า และ โลโก้

 C.    กลมกลืนในองค์ประกอบได้แก่


      -    กลมกลืนด้วยเส้น – ทิศทาง

      -    กลมกลืนด้วยรูปทรง – รูปร่าง

      -    กลมกลืนด้วยวัสดุ – พื้นผิว

      -    กลมกลืนด้วยสี มักใช้โทนสีที่ใกล้กัน

      -    กลมกลืนด้วยขนาด – สัดส่วน

      -    กลมกลืนด้วยน้ำหนัก

                         

                     

6.    จังหวะ (Rhythm)
  จังหวะเกิดจากการต่อเนื่องกันหรือซ้ำซ้อนกัน  จังหวะที่ดีทำให้ภาพดูสนุก  เปรียบได้กับเสียงเพลงอันไพเราะในด้านการออกแบบ แบ่งจังหวะ เป็น  4 แบบคือ

 -          จังหวะแบบเหมือนกันซ้ำๆกัน เป็นการนำเอาองค์ประกอบหรือรูปที่เหมือนๆ กันมาจัดวางเรียงต่อกัน  ทำให้ดูมีระเบียบ ( order ) เป็นทางการ  การออกแบบลายต่อเนื่อง เช่น ลายเหล็กดัด ลายกระเบื้องปูพื้นหรือผนัง ลายผ้า เป็นต้น

  -          จังหวะสลับกันไปแบบคงที่  เป็นการนำองค์ประกอบหรือรูปที่ต่างกันมาวางสลับกันอย่างต่อเนื่อง  เป็นชุด  เป็นช่วง  ให้ความรู้สึกเป็นระบบ  สม่ำเสมอ  ความแน่นอน

 -          จังหวะสลับกันไปแบบไม่คงที่  เป็นการนำองค์ประกอบหรือรูปที่ต่างกันมาวางสลับกัน อย่างอิสระ ทั้งขนาด ทิศทาง ระยะห่าง  ให้ความรุ้สึกสนุกสนาน

-          จังหวะจากเล็กไปใหญ่ หรือจากใหญ่ไปเล็ก  เป็นการนำรูปที่เหมือนกัน  มาเรียงต่อกันแต่มีขนาดต่างกัน  โดยเรียงจากเล็กไปใหญ่  หรือ จากใหญ่ไปเล็กอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาพมีความลึก มีมิติ

                         

                         
                         
                        

 7.    ความลึก / ระยะ ( Perspective )

ให้ภาพดูสมจริง  คือ ภาพวัตถุใดอยู่ใกลัจะใหญ่ ถ้าอยุ่ไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลำดับ  จนสุดสายตา  ซึ่งมีมุมมองหลักๆ อยู่ 3 ลักษณะ คือ วัตถุอยู่สูงกว่าระดับตาวัตถุอยู่ในระดับสายตา และวัตถุอยู่ตต่ำกว่าระดับสายตา



 8.    ความขัดแย้ง ( contrast )

ความขัดแย้ง หมายถึง ความไม่ลงรอยกันเข้ากันไม่ได้ ไม่ประสานสัมพันธ์กัน ขององค์ประกอบศืลป์  ทำให้ขาดความกลมกลืน ในเรื่องรูปทรง  สี  ขนาดลักษณะผิวที่แตกต่างกัน ดังนั้นนักออกแบบที่ดี   จะต้องลดความขัดแย้งดังกล่าว  ให้เป็นความกลมกลืน  จึงจะทำให้งานออกแบบมีคุณค่า  ลักษณะของความขัดแย้ง  เช่น ความขัดแย้งของรูปร่าง ความขัดแย้งของขนาดต่างๆ เป็นต้น
               
                       
                       

9.    การซ้ำ ( Repetition ) คือ

การปรากฎตัวของหน่วยที่เหมือนกันตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไปเป็นการรวมตัวกันของสิ่งที่มีอยูฝ่ายเดียวเข้าด้วยกัน  เช่น  การซ้ำของน้ำหนักตำ การซ้ำของเส้นตั้ง  การซ้ำของน้ำหนักเทา การซ้ำของรูปทรงที่เหมือนกัน เป็นต้น


           การซ้ำสามารถใช้ประกอบโครงสร้างสิ่งต่างๆ ให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น  เช่น กราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ ลวดลายผ้า เป็นต้น  สิ่งสำคัญของการซ้ำ คือ ส่วนประกอบของการซ้ำและหลักการจัดองค์ประกอบของการซ้ำ เพื่อใช้เป็นข้อมูล ในการสร้างและต้องเข้าใจในหลักการประกอบส่วนย่อยนั้นเข้าด้วยกัน

ซึ่งการซ้ำสามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 8 รูปแบบ

-          การเรียงลำดับ ( Translation in step )

-          การสลับซ้าย – ขวา (Reflection about line )

-          การหมุนรอบจุด (Rotation about a point )

-          การสลับซ้าย – ขวา และหมุนรอบจุด (Reflection and rotation)

-          การสลับซ้ายขวา และเรียงลำดับ ( Reflection and translation )

-          การหมุนรอบจุด และเรียงลำดับ (Rotation and translation)

-          การเรียงลำดับสลับจังหวะ (Reflection and alternate translation )

-          การผสมระหว่างเรียงลำดับ  สลับจังหวะและหมุนรอบจุด ( Reflection, rotation and translation )


ที่มา http://learning.eduzones.com/67321/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%20%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A